การเพิ่ม Drive ใช้งานมากกว่าหนึ่ง(วิธีการสร้าง Partition)

How to 


Create a Separate Data Partition for Windows

(การแบ่งพื้นที่เก็บข้อมูลในเครื่องป้องกันความสูญเสีย)



ที่มาของบทความ : 
             1.คงมีใครหลายๆคนที่เคยไปซื้้อคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุคส์จากร้านค้า กลับมาเปิดเครื่องที่บ้านเมื่อเปิด Explorer ปรากฏว่าเครื่องมีเพียง Drive : C อย่างเดียว (ซึ่งจะเป็นไดร์รวมระบบปฏิบัติการอยู่ด้วยกัน) แต่ไม่ปรากฏ Drive : D ซึ่งพวกเราคุ้นเคยกันเลย บางทีร้านค้าเองเค้าก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคุณต้องการให้แบ่ง Partให้อะป่าว ถ้าเจอร้านค้าดีไม่งี่เง่ามีความคิดหน่อยเค้าจะแบ่งแยก Driveออกมาให้เลย ต้องลงโปรแกรมระบบปฏิบัติการใน Drive : C และแบ่ง Partให้คุณอย่างน้อยก็ Drive : D หละ  แต่ถ้าร้านค้างี่เง่า....เราก็ต้องมาค้นคว้าหาวิธีเพิ่มไดร์ฟเอง..อันนี้แหละคือ "ปัญหา" 
            เพราะการเพิ่ม Drive มันก็คือการป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในภายหลังเมื่อไดรฟ์ที่มากับเครื่องเพียงDriveเดียวพังลง ข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บนเครื่องก็จะสูญสิ้นไปในคราวเดียวกัน ถ้าหากเครื่องของคุณมีเพียง 1 ไดร์ฟคือ Drive :C (ภาษาจีนเค้าเรียกว่า "ซี้แหงแก๋" "อีแมข่อย" ต่อด้วยภาษาลาว) 
               2.เมื่อวันก่อนน้องสาวที่ทำงานข้างๆโต๊ะผมถึงกับน้ำตาล่วง เหตุเพราะไอ้เจ้า External Hartdisk  (ซึ่งมันขึ้นมาโด่งดังในช่วงหลังๆ นี่เองด้วยความสามารถที่สามารถบรรจุข้อมูลได้มหาศาล หลังจากการล่มสลายของพวกแผ่น Disket และในยุคต่อมาที่กำลังจะน้อยลงคงไม่ต้องคาดเดาประเภทพวกแผ่น CD / CD-R / DVD ก็คงจะสูญสิ้นตามลำดับ แม้กระทั้ง Thrumdrive ในที่สุดก็คงจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคอื่นๆต่อไป) ปัญหาคือ "เราจะทำอย่างไรเมื่อมันเจ้ง" จะด้วยสาเหตุอะไรก็ตามแต่..สุดท้ายมันก็คือ "เจ้ง" แล้วข้อมูลมหาศาลที่อยู่ข้างในหละ การซ่อม/การกู้ข้อมูล เชื่อได้เลยว่าไม่มีทางสมบูรณ์ 100เปอร์เซนต์ครับแน่นอนคงได้แต่บอกน้องว่า "ทำใจไว้ครึ่งหนึ่งก่อนนะ" พี่แต่งงานแล้ว..เฮ้ย..คนละเรื่อง..อิอิ
                    งั้นข้อมูลที่คิดว่าปลอดภัยที่สุดคือต้องเก็บไว้ใน Drive : D ซึ่งอยู่ในเครื่องคอมฯ (Drive : C เก็บข้อมูลไม่ได้นะครับ หากเครื่องเสียข้อมูลใน Drive : C ก็จะพลอยหายไปด้วย ระวังเถอะพวกที่ชอบเก็บข้อมูลไว้บนหน้า Desktop จะน้ำตาร่วง เค้าเก็บDrive : C ไว้สำหรับระบบปฏิบัติการเท่านั้น)
            คำถาม :  "แล้วDriveไหนหละจะปลอดภัยที่สุด"
            คำตอบ :  "Drive : D ปลอดภัยที่สุด" (ทุกคนก็จะตอบเหมือนกันแน่นอน..เพราะสามารถกู้ข้อมูลได้)
               เมื่อ 3 ปี ที่แล้ว ผมเองก็ถึงกับร้องไห้เช่นกัน ด้วยเพราะคิดเหมือนกับคนทั่วไปนี่แหละครับ สุดท้ายเครื่องเจ้ง ข้อมูลใน Drive : D หายเกลี้ยงไปด้วย แต่ก็นึกสะบายใจเปาะหนึ่งเพราะคิดว่ามันก็จะกู้กลับคืนมาได้ สุดท้าย...ถึงร้องไห้โฮเลยทีนี้ เพราะกู้ได้ครับ..แต่ได้มาแต่โฟล์เดอร์เปล่าๆ บางงานก็กู้ได้แต่เพี้ยนหมดเปิดไม่ได้  งานสารพัดงานรวมกันไว้ในDrive เดียวหายเกลี้ยง...เซ็งห่านเลย
                        ตั้งแต่วันนั้มาถึงวันนี้ .....
                   ผมรู้สึกเหมือนพึ่งเริ่มงานใหม่ได้ 3 ปี เริ่มต้นเก็บข้อมูล / ผลงานต่างๆ ที่มีเหลือนิดหน่อยตามเครื่องคอมฯบ้าง แผ่น CD บ้างที่เคยเก็บไว้ แล้วข้อมูล 10 ปีที่ผ่านมาหละ....ด้วยความโมโหจึงตะโกนให้ดังที่สุดเท่าที่จะดังได้ว่า "กูจะเก็บข้อมูลไว้บนฟ้าาาาาาาาาา"
                       โอ้วพี่น้องครับมันเป็นประสบการณ์ที่แสนจะเจ็บปวด....

                     คำถาม :    "จะเก็บข้อมูลไว้ที่ไหน...จึงจะอยู่หยั่งยืนยง...แม้เครื่องคอมฯพินาศลง..ข้อมูลจะยังคงเหลืออยู่ด้วย" ? 
                     คำตอบคือ  "ระบบ Cloud" (นวัตถกรรมเก็บข้อมูลแบบใหม่ในทศวรรษที่ 2012 - 2022 เก็บข้อมูลไว้บนฟ้าจริงๆด้วย..พระเจ้าจอร์จ..มันยอดจริงๆ) 

                     ซึ่งผมจะได้พูดในบทความต่อไปในเรื่องของ Cloud แต่สำหรับวันนี้เรามาแก้ปัญหาเฉพาะกันก่อนดีกว่า ด้วยการสร้างพื้นที่เก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมของพวกเราให้มากกว่าหนึ่ง(Drive) ป้องกันความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลในการสูญหาย...จากเดิมที่เราเคยสร้างงานเก็บงานแยกตามโฟล์เดอร์..แต่ไง๊ก็อยู่ใน Driveเดียวกันใช่ไหมครับ? สู้ซะ..เรามาสร้างงานและเก็บงานและแยกงานตามDriveหลักๆไปเลยดีกว่า ป้องกันข้อมูลสูญหายเกลี้ยงไปในคราวเดียวกัน.........

 การเพิ่ม(แยก) Drive ในเครื่องคอมพิวเตอร์

                      การเพิ่ม Drive ให้เครื่องคอมพิวเตอร์  7 ขั้นตอน (จบ) จะพูดเฉพาะใน Windows 7 นะครับ ส่วน XP กำลังจะล่มสะลาย คงไม่ต้องพูดถึงส่วน Windows 8 ก็ใช้วิธีการเทียบเคียงกันได้ครับ

ขั้นตอนที่ 1 : คลิ๊กขวาที่ My Computer บน Desktop แล้วเลือกเมนู "Manage"ครับ 





ขั้นตอนที่ 2 : เลือกหัวข้อ Storage เมนู "Disk Management"



ขั้นตอนที่ 3  : เลือก Drive ที่ท่านต้องการจะแบ่ง Part ในที่นี่ผมจะแยกจาก Drive : D ซึ่งมีความจุทั้งหมดอยู่ 348.57 GB ให้คลิ๊กขวาที่ Drive : D ครับแล้วเลือกหัวข้อ "Shrink Volume"

หลังจากนั้น ระบบจะประมวลผล (รอแป๊ป..หรือจะเอาฆ้อนดี..อิอิอิ)



ขั้นตอนที่ 4 : ขั้นสำคัญ...เพราะให้ใส่ขนาดความจุของ Drive ใหม่ที่เราต้องการในที่นี้ระบบคอมพิวเตอร์จะนับความจุของพื้นที่เป็น MB นะครับไม่นับเป็น GB ดังนั้น 1000 MB = 1 GB  นะครับจำไว้(อย่าลืมเชียวนา) สำหรับตัวอย่างที่ผมแยกมาผมจะเอาพื้นที่ Drive ใหม่ 50 GB เพราะจะเก็บงานเยอะเหมือนกัน ก็เท่ากับ 50000 MB  ในบรรทัดที่ 3 นะครับ


ความหมายในแต่ละบรรทัดดังนี้


  • Total size before shrink in MB: --> ความจุทั้งหมดของไดร์ฟ C: ที่เราเลือก
  • Size of available shrink space in MB: --> ขนาดที่เราสามารถแบ่งได้
  • Enter the amount of space to shrink in MB: --> ใส่ขนาดที่เราต้องการจะแบ่ง
  • Total size after shrink in MB: --> ขนาดไดร์ฟ C: ที่เหลือ หลังจากการแบ่งไดร์ฟ


  • ขั้นตอนที่ 5 :  เมื่อระบบประมวลผลเสร็จจะสังเกตุว่าเราได้ไดร์ฟเพิ่มมาอีก 1 Drive ครับ ตามความจุของพื่นที่ที่เรากำหนดไว้ (ขาดนิดหน่อยเพราะระบบต้องแบ่งไว้สำหรับปฏิบัติการ) ให้ตั้งชื่อให้ Drive ด้วยครับ โดยคลิ๊กขวาที่Drive แล้วเลือกเมนู "New Simple Volume"

    เลือก Next ไปเรื่อยๆแล้วระบบก็จะแจ้งความจุของ Drive ให้เราทราบ Next ไป





    ขั้นตอนที่ 6 :  ให้เลือกระบุ Drive ที่เราต้องการให้แสดงครับ ในที่นี่ผมเลือก Drive : F ครับ ซึ่งที่ชอบ "F" ไม่ได้แปลมาจากความ "ล้มเหลว" นะครับ แต่มาจากคำว่า





    ขั้นตอนที่ 7 :  ตั้งชื่อให้ Drive ของคุณเลยตามใจชอบเช่น "Informatics" ภาควิชาสารสนเทศฯ ซึ่งผมใช้เพราะข้อมูลเยอะพอควร และก็จะสร้างงานอื่นๆต่อไปอีกหลายงาน.. แล้วคุณก็ Next ไปเลย



    ผลลัพธ์


                         เมื่อเราเปิด Explorer ขึ้นมาก็จะพบกับ Drive ที่ได้มาเพิ่ม...ที่นี้ก็เก็บงานอย่างสะบายใจเฉิบ..เลยครับพี่น้อง







    สุดท้าย : คุณก็ได้ Drive โดยมีความจุและชื่อตามที่คุณตั้งไว้สำหรับใช้งานมาอีก 1 Drive เพื่อป้องกันความสูญเสียกรณีเครื่องพังโดยไม่ทราบสาเหตุและก็ยังสามารถสร้าง Drive ได้เรื่อยๆ  เป็นอีกหนึ่ง"ความเสี่ยง" ที่หน่วยงานควรเผยแพร่วิธีการสำรองข้อมูลให้กับบุคลากรของตนครับ
    ----ขอให้ความสุขกับการทำงานทุกคนทุกท่าน.....

    .........หากท่านมีความจำเป็นต้องรวมไดร์ฟในอนาคต..ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน....
    ซึ่งผมจะมาพูดให้ฟังในวันหลังนะครับ..วันนี้เป็นวันที่มีการรัฐประหารวันที่ 2 แล้ว ผมเขียน ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2557


    อ้างอิง : http://www.howtogeek.com/172580/how-to-create-a-separate-data-partition-for-windows/

    12 ความคิดเห็น

    1. ไม่ระบุชื่อ8 กรกฎาคม 2558 เวลา 22:52

      ขอบคุณมากๆคับ

      ตอบลบ
      คำตอบ
      1. ผมฝากโปรแกรมใช้งานง่ายๆอย่าง โปรแกรม MiniTool Partition Wizard ด้วยนะครับ
        "พ่อมดตะนอย"

        ลบ
    2. ขอบคุณมากเลยค่ะ เป็นประโยชน์มากเลยยยยย ^^

      ตอบลบ
      คำตอบ
      1. ใช้งานได้ดีมากๆครับ ไม่เป็นภาระของไดร์ฟรวมครับผม

        ลบ
    3. เจ๋งมากค่ะ จะลองทำดู

      ตอบลบ
      คำตอบ
      1. ขออภัยครับ..ยุ่งแต่งานประจำเลยไม่ได้เข้ามาดู ใช้งานนานแล้วเป็นยังไงบ้างครับผม "พ่อมดตะนอย"

        ลบ
    4. คำตอบ
      1. ยินดีครับ ใช้แล้วงานเป็นอย่างไรอย่าลืมมารีวิวให้เพื่อนๆดูนะครับ แนะนำโปรแกรมช่วยใช้งานง่ายครับ โปรแกรม MiniTool Partition Wizard "พ่อมดตะนอย"

        ลบ
    5. ทำไม่ได้ค่ะ มันเตือนแต่ข้อมูลอาจเสียหายแล้วก็ทำไม่ได้เลยค่ะ

      ตอบลบ
    6. ขอบคุณมากคะ สอนเข้าใจง่าย :))

      ตอบลบ
      คำตอบ
      1. ยินดีมากเลยครับ แต่ก็มีโปรแกรมหนึ่งที่อยากแนะนำครับ ใช้งานง่าย เพิ่ม ลบ รวม ดัน ขยาย ได้หมด โปรแกรม MiniTool Partition Wizard ลองหามาใช้ดูนะครับผม "พ่อมดตะนอย"

        ลบ
    7. ขอบคุณค่ะ กำลังหาพอดี

      ตอบลบ
    แสดงความคิดเห็น
    ใหม่กว่า เก่ากว่า