พระพุทธศาสนากับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ


พุทธศาสนากับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ (ตอนที่ 1)
          พุทธศาสนาภายใต้รัฐธรรมนูญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ   : การบัญญัติให้ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญนั้นถึงทำได้จริงก็ไม่ได้ทำให้คนไทยทั้งประเทศเป็นพุทธที่ดีทันที  แต่มันจะเป็นหลักการสำคัญในการส่งเสริมความเข้าใจและปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนาตามมา 
เมื่อมีศาสนาประจำชาติ แล้วพยายามปลูกฝังให้ประชาชนในชาตินั้นหันเข้าหาศาสนามากยิ่งขึ้น ก็ทำให้คนมีศีลธรรมมากขึ้นได้จริง แต่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะไม่ค่อยสูงตาม เพราะผู้คนจะไม่ค่อยโลภมาก  ความสงบสุขมีเพิ่มขึ้นจริงอาชญากรรมลดลงจริงแต่ธุรกิจในประเทศอาจไม่เจริญหวือหวา
ในที่นี้กระผมจะยกตัวอย่างประเทศภูฏาน (อ่านว่า : ภูฐาน
)
...ภูฏานเป็นประเทศหนึ่งที่มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ สมัยหนึ่งผมเองก็เคยดูแลนักศึกษาภูฎานที่เข้ามาศึกษาต่อที่คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หลักสูตรประกาศนียบัตร 1 ปี ประมาณซัก 4 รุ่นเห็นจะได้ ชื่อคนประเทศนี้ก็จะออกแนวๆคล้ายๆกันไปหมด ไม่คุ้นหน่อยก็งงๆๆหลงๆๆ ได้ เช่น Sangpo Pema Wangsuck Dorji Singye เป็นต้น และผมเองก็ได้มีโอกาสได้พูดคุยในเรื่องศาสนาอยู่บ่อยๆ สิ่งที่นักศึกษาเหล่านั้นพยายามจะนำเสนอให้เราทราบก็คือ ประเทศเค้าเป็นประเทศที่มีดัชนีความสุขของประชากรอยู่ในระดับต้นๆของโลก  และสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดคือประเทศเค้ายังปกครองคล้ายๆ ประเทศไทยสมัยก่อน คือ ระบบสมบูรณาญาสิทธิราช ดังนั้นดัชนี้ชีวัดความสุขของพวกเค้ามาจากการปกครองโดยธรรมแน่นอน อย่างเช่นประเทศเค้าไม่ต้องใช้โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค เหมือนประเทศไทย ประเทศเค้าประชากรทุกคนต้องรักษาฟรีทุกโรค ทุกโรงพยาบาล หรือจะเรียกอีกย่างหนึ่วว่า “ล้านโรค หมื่นโรงพยบาล บริการถ้วนหน้า ค่ารักษาฟรี” ประมาณนี้กระมัง  
....ในทำนองเดียวกันคนเหล่านี้ก็รักประเทศไทย เค้าบอกว่าประเทศไทยมีทั้ง Amazing Thailand มีทั้ง Unseen in  Thailand
Amazing
ครั้งหนึ่งผมเคยชวนนักศึกษาเหล่านี้ไปกินอาหารเกาหลี พวกเค้าดีใจใหญ่เลย พอเลิกงานผมก็ใช้รถกระบะ Colorado ของผมมารับเลย นักศึกษาภูฏาน 5 คน เพื่อไปรับประทานอาหารเกาหลี เค้าก็บอกผมว่า
            “คุณอุดม ผมรู้สึกตื่นเต้นจังเลย ที่จะได้มีโอกาสขึ้นห้างสรรพสินค้า กินอาหารเกาหลี กินอาหารญี่ปุ่น Sushi Oishi shazuchi Fuji  ว้าวตื่นเต้นจัง ผมต้องวางตัวยังไงครับ..แล้วร้านมีชื่อว่าอะไร”
            ดูท่าทางแล้ว...ก็คล้ายๆตอนที่ผมเดินทางจากภูเขาเข้าเมืองกรุงสมัยหนุ่มๆ ยังไงไม่รู้นะ ผมเองก็คิดชื่อเป็นภาษาอังกฤษอยู่ตั้งนานเหมือนกันว่าจะเรียกชื่อร้านว่าอะไรดีนะ (ประเทศภูฎานใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองในชีวิตประจำวัน..คือเค้าพูดกันคล่องสองภาษาเลยทีเดียว)
           Mother Zushi”  ผมเองก็บอกไปทั้งๆ ที่ก็ยังงงๆๆ อยู่....ถูกอะป่าววะ
            “ไม่เคยได้ยินมาก่อน..แปลกดี” พวกเค้าก็พูดเสียงยานๆๆๆเหมือนจะไม่คุ้นชื่อเอาซะเลย
            ผมเองก็ได้แต่นึกอยู่ในใจ(เวลานึกง่ะ..นึกเป็นภาษาไทยนะ)ว่า
            “อย่าว่าแต่เองเลย...กูเองก็ไม่คุ้นเหมือนกันโว้ย”
และแล้วผมก็พาพวกนักศึกษาภูฎานนั่งรถวนไปตามถนนราชวิถีเพื่อไปดูไฟรอบๆๆองค์พระเสมือนหนึ่งต้องการให้พวกเขาได้เห็นความงดงามขององค์พระปฐมเจดีย์ จากนั้นก็พาไปร้านอาหารเกาหลี โดยวนรถกลับมาหน้ามหาวิทยาลัยศิลปากรเหมือนเดิม
            “คุณอุดมกลับมาทำไม ..ไหนบอกจะพาไปกินอาหารเกาหลี”
            “ก็นี่ไง..ร้านอาหารเกาหลี”
             นักศึกษาทุกคนก็เงยหน้ามองที่ป้ายแล้วก็วานให้ผมแปลเป็นภาษาอังกฤษให้หน่อย ผมก็มีน้ำใจแปลให้ทันทีเหมือนกัน
            “มาตา เป็นภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า “แม่” เป็นภาษาอังกฤษเรียกว่า “Mother
        ร้านมาตาเนื้อย่างเกาหลี..(ซึ่งตั้งอยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัยศิลปากร) จึงแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า “Mother sushi”  5555 ...แล้วนักศึกษาภูฏานทั้งห้าคน ก็ร้องเป็นภาษาอังกฤษเป็นเสียงเดียวกันว่า
            “Wow Amazing Thailand
            จนทุกวันนี้นักศึกษาสำเร็จการศึกษากลับประเทศไปกันหมดแล้ว ผมก็ยังไม่หายสังสัยว่า Amazing ที่พวกเองตาโตกันเนี้ย มันด่าหรือชมฉันวะ........
Unseen
            ต่อนิดนึง.....ใกล้วันสำเร็จการศึกษาของนักศึกษากลุ่มนี้ พวกเค้าต้องการให้ผมพาไปเที่ยวแถวๆ บ้านเกิดของผมย่านมลรัฐ North eastern หรือเรียกให้ชัดถ้อยชัดคำก็ “อิสาน”  นั่นแวะ ผมก็เลยสนองความต้องการของพวกเค้าซะหน่อย วันรุ่งขึ้นก็เดินทางทันทีด้วยรถกระบะ Colorado คันเดิม ในขณะเดินทางก็บอกจังหวัดต่างๆ ทางภาคอิสานให้กับนักศึกษาฟัง จนทุกคนจำได้ว่ามีกี่จังหวัด เป็นที่สนุกสนานแบบบ้านนอกๆ ยังไงไม่รู้นะ และก็ได้พาไปเที่ยวสะพานมิตรภาพไทยลาว ริมโขงจ.หนองคาย
            “ ไอ จะพา พวกยู  ไปกินลาบเป็ดยโสธร..เค้าบอกว่าอร่อยม๊ากๆๆ”
            “วาว..คงต้องเดินทางอีกไกล..แล้วเมื่อไหร่จะได้กิน” กลุ่มนักศึกษาแสดงท่าทางเหนื่อยอ่อน
            “แค่นี้เองประมาณ 3 กม. ก็ถึงแล้ว”  งงกันใหญ่
และแล้วพวกเราก็ถึงร้านลาบเป็ดยโสธร..ดังใจ
สั่งเมนูแบบแซบๆๆ เต็มอัตราศึกเลย ...พูดแล้วน้ำยายยัยยยยย..กึ๊ย
“คุณอุดม..คุณอุดม..”
“อะไรอีกหละ..” ผมพูดด้วยความหงุดหงิด..เพราะกำลังเปิบข้าวเหนียวแบบอดอยากมานาน
“ทำไม...ลาบเป็ดจังหวัดยโสธร อยู่ริมโขงจังหวัดหนองคาย..แล้วเรียกลาบเป็ดยโสธรได้ไง ทำไมไม่เรียกลาบเป็ดหนองคาย”
“เออ..กินๆไปเหอะ....บ้านไอมันก็เป็นแบบนี้แหละมีไปทั่วทุกจังหวัดอยากกินจังหวัดอะไรบอก.จะพาไปกิน”
Wow…Unseen in Thailand
“สุดยอดไปเลย...บ้านพวกไอ..ไม่มีแบบนี้นะ..อิอิอิ”
จนทุกวันนี้ ...ผมเองก็ยังตอบคำถามในใจไม่ได้ว่า “ตกลงบ้านนายเชย..หรือบ้านฉันเชยวะ” ..เฮอ
ในใจก็อยากจะคุย..เนี้ยถ้านายได้ไปเที่ยวงานไทยสี่ภาคนะ...นายจะได้กินทุกอย่างเลย ไม่ต้องเดินให้เมื่อยตุ่มด้วย..เธ่อ..

เข้าเรื่องๆๆ  แหมอาจารย์นอกเรื่องซะนาน เดี๋ยวจะสอบกันไม่ได้พอดี
(ต่อ)......ปัญหาก็คือคนไทยทุกวันนี้ส่วนใหญ่เน้นหนักวัตถุนิยมหรือบ้าทุนนิยมแบบฝรั่ง  ในการพัฒนาทุนนิยมเสรีให้เจริญรุ่งเรืองนั้น ต้องแยกศาสนาออกไปจากรัฐอย่างสิ้นเชิงเพื่อมิให้ศาสนาเข้ามาถ่วง  ขอยกตัวอย่างเช่น ศาสนาสอนมิให้ละโมบ  ถ้าคนไทยทุกคนตื่นเช้ามาไหว้พระตอนเช้า ตอนบ่ายรักษาศีล ตอนเย็นเข้าวัดฟังเทศน์ ใครจะไปซื้อเหล้ามากิน  ใครจะผลิตสื่อลามกอนาจาร  ใครจะสร้างอาบอบนวด ใครจะเที่ยวผับเที่ยวบาร์ ใครจะไปนั่งบริหารธนาคาร ใครจะสร้างบริษัทไฟแนนซ์ ถ้าคนไทยอยู่กันอย่างสงบเสงี่ยม มัธยัสถ์ ประเทศไทยก็จะล้าหลังไปอีก 50 – 60 เลยทีเดียว (ในความคิดของคนในปัจจุบันนะ)
 อาจารย์ ดร.ปฐมพงษ์  โพธิ์ประสิทธินันท์ ได้เขียนไว้อย่างน่าสนใจว่า พวกเจ้าของธุรกิจบ้าทุนนิยมทั้งหลายก็พยายามหาอุบายล่อให้ใช้เงินต่างๆนานา  เพราะฉะนั้น พวกคลั่งทุนนิยมเสรีในสังคมทุกวันนี้จึงผลักใสศาสนาออกไปจากรัฐธรรมนูญหรือนโยบายรัฐ  อย่าว่าแต่ศาสนาเลยครับ แม้แต่สถาบันกษัตริย์เองก็โดนทุนนิยมกระแทกหลายครั้ง  
ยกตัวอย่างประเทศพม่า
ภาพจากสื่อออนไลน์
....สมัยอังกฤษปกครองพม่า อังกฤษเองก็พยายามเอาระบบทุนนิยมเข้าไปอยู่หลายครั้ง แต่เข้าไปลำบากมากเพราะอิทธิพลพระพุทธศาสนายังมั่นคง  ปรัชญาหลักของทุนนิยมเสรีก็คือให้คนบริหารธุรกิจต้องโลภหรือต้องเล็งกำไรสูงสุด สังคมก็ต้องสอนให้คนฟุ่มเฟือยเพื่อขับเคลื่อน GDP ลัทธิทุนนิยมเสรีจึงจะเจริญได้
   จะเห็นได้ว่าในอดีตอังกฤษมีความพยายามที่จะปูทางให้ทุนนิยมเสรีมีความเจริญในประเทศพม่าด้วยวิธีการ 2 ขั้นตอนคือ
 1.ดึงการศึกษาออกไปจากวัดให้ได้เสียก่อน เพราะถ้าการศึกษาอยู่ภายในวัด  ผู้คนที่ไปศึกษาก็จะติดอยู่ในหลักศีลธรรมศาสนามากเกินไป
... .............เมื่อพวกเราหันย้อนมามองประเทศไทย จะพบว่าเราถูกทุนนิยมเสรีพยามรุกรานวัฒนธรรมอย่างรุนแรงมาเป็นเวลานาน สิ่งหนึ่งที่มองเห็นได้ชัดในช่วง 4 – 5 ที่ผ่านมา เอาง่ายๆ นะอย่างเช่นว่ามีความพยามยามนำคำว่า “วัด” ออกจากโรงเรียน (ไม่ใช่สิ..เอาออกจากชื่อโรงเรียน)  ในอดีตวัดเป็นศูนย์กลางของสังคมในแทบทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา การแพทย์ ซึ่งพระสงฆ์มีบทบาทในการบริหารจัดการการศึกษา การจัดตั้งโรงเรียนภายในวัดเป็นครูใหญ่ของโรงเรียน เช่น เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ กรุงเทพฯ เป็นครูใหญ่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นต้น จะเห็นได้ว่า    วัดกับโรงเรียนคู่กันในสังคมไทยมาโดยตลอด พระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทในการจัดการศึกษา ซึ่งมีคุณูปการต่อประเทศและพัฒนาเยาวชนของชาติให้มีศักยภาพ ต่อมาได้มีนักการศึกษาหัวสมัยใหม่ ได้เข้ามามีบทบาทกำหนดแผนการศึกษาของชาติ ได้พยายามตัดรากเหง้าแห่งความมั่นคงของชาติ ด้วยการตัดคำว่า “วัด”  ออกจารสารบบของการศึกษา เห็นว่า เป็นเรื่องล้าหลัง ไม่ทันสมัย
            การตัดชื่อวัด ออกจากชื่อโรงเรียนส่อให้เห็นว่า มีเป้าหมายในการลดบทบาทของวัดหรือพระสงฆ์ไทยให้หมดไป หรือหายไปจากสังคมไทย ประเด็นดังกล่าวนี้ถือว่า เป็นบ่อนทำลายสถาบันชาติ และสถาบันพระพุทธศาสนา
            มส.ได้มีมติออกไปแล้ว ถือเป็นคำสั่งที่ผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จากนี้ไป วัด ที่มีโรงเรียน จะต้องแจ้งให้โรงเรียนทราบว่า ห้ามตัดคำว่าวัดออกจากชื่อของโรงเรียน หากโรงเรียนไหนตัดออกไปแล้ว ให้นำกลับมาใส่นำหน้าชื่อโรงเรียนเหมือนเดิม ซึ่งหากวัดใดไม่ดำเนินการ ถือว่า มีความไม่ปฏิบัติตามคำสั่งมส. เพราะโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ของวัดปัจจุบันจะต้องทำสัญญาเช่าตามระเบียบการเช่าพื้นที่ธรณีสงฆ์ โดยทางวัดสามารถกำหนดเงื่อนไขการทำสัญญาว่า โรงเรียนจะต้องห้ามตัดคำว่าวัดออกจากชื่อของโรงเรียน ซึ่งมีตัวอย่างกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นมาแล้วของ โรงเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร ที่จะตัดคำว่า วัด ออก แต่วัดแจ้งว่า หากตัดคำว่าวัดออก ก็ต้องย้ายโรงเรียนออกไปจากพื้นที่ด้วย
ยกตัวอย่าง เช่น กรณี
.......ในยุคสมัยหนึ่งผู้บริหารโรงเรียนมัธยมวัดดุสิตารามก็เคยมาขอหลวงพ่อเจ้าอาวาส (พระธรรมญาณมุนี : วรรณ มนุญฺโญ ป.ธ.8) ซึ่งท่านละสังขารไปแล้ว เพื่อให้นำคำว่า “วัด” ออกจากชื่อของโรงเรียน ด้วยเหตุผลว่าเพื่อพัฒนาโรงเรียนเป็นสากล และทันสมัย หลวงพ่อตอบผู้บริหารไปว่า
"อาตมาอนุโมทนาเห็นดีด้วยที่จะตัดคำว่าวัดออกไป”
..ผู้บริหารท่านนั้นก็ยิ้มและดีใจ  หลวงพ่อก็กล่าวต่อไปว่า
 “แต่ก็ขอให้เอาโรงเรียนออกจากที่วัดไปด้วยนะ”  
 ผู้บริหารท่านนั้นหน้าก็เริ่มห่อเหี่ยว และหลวงพ่อถามกลับคืนไปว่า
 “คำว่า " วัด" มันเป็นอัปมงคลตรงไหนรึ..คุณโยม"
  ผู้บริหารท่านนั้นก็ตอบหลวงพ่อเพียงว่า
 "เป็นนโยบายผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปอ่ะครับพระเดชพระคุณหลวงพ่อ"
และแล้วการตัดคำนำหน้าโรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม ก็ถูกยกเลิกไปในที่สุด ที่จริงแล้วสังคมไทยควรใช้ประโยชน์จากคำว่า “วัด” ที่นำหน้าโรงเรียนเพื่อมาใช้เป็นสื่อพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม หรือสัญลักษณ์ด้านจิตวิญญาณไม่ดีกว่าหรือ ต่างชาติทุกวันนี้ไม่น้อยเลยทีเดียวที่เค้ามองเห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนา แล้วหันมานับถือกันอย่างจริงๆจังๆ  แต่คนไทยกลับคิดสวนทาง โรงเรียนวัดซึ่งเป็นสัญลักษณ์ด้านจิตวิญญาณที่สามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมซะด้วยซ้ำ กลับมองไม่เห็นประโยชน์ มองเป็นสิ่งไร้ค่า โบราณ เชย ไม่ทันสมัย  ไม่ใช่เฉพาะพุทธศาสนาเท่านั้นที่เค้าเห็นความสำคัญด้านการศึกษากับศาสนาผสมผสานกัน ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม เค้าก็มีโรงเรียน  เช่นคำว่า เซนต์ พระแม่ สุเหร่า เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มันเป็นสัญลักษณ์ด้านคุณงามความดีไม่ใช่หรือ
ถ้าในโลกนี้ยังมีคนที่คิดแบบนี้นะ ผมก็จะบอกให้คนที่คิดทำนองนี้แหละช่วยเอาคำว่า “พิเศษ” ออกจากคุกบางขวางทีเหอะ คนไม่เข้าใจอย่างผมฟังแล้วดูแล้วมัน สบ๊าย..สบาย..ยังไม่รู้นะ “เรือนจำพิเศษบางขวาง” ซะงั้น
“คุก” เป็นสัญญลักษณ์กักกันคนทำความผิดเรียกว่า “เรือนจำ”  ขณะเดียวกัน “วัด” เป็นสถานที่ประพฤติปฎิบัติธรรม และปฏิบัติศาสนกิจทางพุทธศาสนา ฉะนั้นคำว่า “โรงเรียนวัด” จึงควรค่าแก่การดำรงรักษาไว้ทุกประการ ....ใช่ม๊ะ..รึใครจะเถียง(อ้างอิง :http://www.mcu.ac.th/site/news_in.php?group_id=1&NEWSID=7005 )
2.เมื่อดึงหลักสูตรออกไปจากวัดแล้ว ก็สร้างโรงเรียนบริหารโดยรัฐบาล โดยมีวิชาที่เกี่ยวกับศาสนาให้น้อยที่สุด  
.......หลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาถูกตัดให้เหลือน้อยมากในระบบโครงการสร้างศึกษาพม่าช่วงอังกฤษดูแล  โดย ปรกติ องค์กรพุทธนั่นแหละที่ค้ำสถาบันกษัตริย์แต่การบริหารประเทศก็ถูกอังกฤษล้วง ลูกด้วยวิธีต่างๆ นานา เช่น อังกฤษสนับสนุนชาวคริสต์และสนับสนุนชนกลุ่มน้อยอย่างกะเหรี่ยงให้กระด้าง กระเดื่องต่อกษัตริย์  พอองค์กรพุทธอ่อนแอ สถาบันกษัตริย์พม่าก็อยู่ไม่ได้ พระเจ้าธีบอโอรสพระเจ้ามินดงเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าซึ่งถูกอังกฤษ เนรเทศไปอยู่อินเดียแล้วสถาบันกษัตริย์ก็หมดไปจากพม่าแต่บัดนั้น ตอนหลังองค์พุทธเข้มแข็งขึ้น เช่น ขบวนการวันทานุได้พยายามต่อสู้กับอังกฤษจนอังกฤษต้องปล่อยให้พม่าได้เอกราช”

           ประเทศไทยก็เจอสถานการณ์เดียวกัน คนดูแลการศึกษาไทยในอดีตหลายคนก็ถูกล้างสมองด้วยปรัชญาทุนนิยมเสรีเช่นเดียวกัน แม้จะมีการศึกษามาดีแต่น่าเสียดายที่สติปัญญาหรือหัวสมองพวกนี้กลับโง่ ไม่ทันฝรั่ง  หากสำคัญผิดๆว่าตัวเองฉลาด  จึงพยายามเดินตามระบบการศึกษาตะวันตกเซื่องๆ เกือบทั้งดุ้น  เอาวิชาอะไรต่อมิอะไรมาให้เด็กเรียน แต่วิชาพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นวิชาใกล้ตัวที่สอนให้เด็กมีศีลธรรม, รู้จักละอายชั่วกลัวบาป, รู้จักรักความยุติธรรมรังเกียจคอรัปชั่น, รู้จักรักพ่อรักแม่กตัญญูคุณ,  รู้รักนวลสงวนตัวไม่ประพฤติตัวชั่วช้าก่อนถึงเวลาอันควร, กลับถูกดึงออกไปจากหลักสูตรการศึกษา
            ดังนั้นหลักสูตรการศึกษาไทยจึงเป็นเพียงหลักสูตรที่เตรียมคนให้ไปช่วยพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีให้เจริญรุ่งเรืองเท่านั้นเอง  ไม่ได้มุ่งเน้นสร้างคนให้พร้อมมูลด้วยสติปัญญาและคุณธรรม พ่อแม่สมัยนี้จึงมุ่งสอนลูกให้รวย ไม่ใช่สอนให้ดี ปัญหาสังคม จึงไม่ได้มีความสำคัญเท่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำ ปัจจัยที่รัฐนำไปกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศไทยหลักๆคือเศรษฐศาสตร์ ไม่ใช่ปรัชญาหรือศาสนา ดังนั้น สังคมไทยทุกวันนี้แม้จะมีความเจริญทางวัตถุมากมาย มีคอมพิวเตอร์ มีเทคโนโลยี ฯลฯ แต่ทำไมจิตใจคนเราแย่ลง  มีปัญหาอาชญากรรมมากมายไม่เว้นแต่ละวันปัญหาค้ายาเสพติดตามจับกันไม่หวาดไม่ไหว
                 พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2540 มาตรา 4 ระบุไว้ว่า การศึกษาหมายความว่ากระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม…’
                 ผมเห็นว่าทุนนิยมมีความจำเป็นระดับหนึ่ง แต่ไม่ควรทิ้งพระพุทธศาสนา รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  เป็นบัญญัติที่มีไว้ปกครองชุมชนสำคัญระดับประเทศ  ถ้าพระพุทธศาสนามีความสำคัญในการพัฒนาจิตคนไทยอย่างแท้จริง  เหตุใดจึงบัญญัติในรัฐธรรมนูญไม่ได้ในเมื่อเราก็เปิดโอกาสให้ศาสนาอื่นๆ เผยแผ่ได้อย่างเสรีเช่น เดียวกัน?  เหตุผล ที่นำมาอ้างเพื่อต่อต้านมากมายนั้นถ้าพิจารณาด้วยสายตานักวิชาการล้วนแล้ว แต่คิดหรือสันนิษฐานขึ้นมาเอง นักวิชาการที่แสดงความเห็นค้านส่วนใหญ่นอกจากอ้างเหตุผลผิดๆ ก็เอาจินตนาการตนเองมาเป็นเหตุผลในการค้านจนวุ่นวายโดยใช่เหตุ
                  ถ้ามีบัญญัติว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ เราก็ได้ข้ออ้างใหญ่ที่จะสร้างกฎหมายลูกหรือระเบียบน้อยใหญ่อื่นๆ ตามมามากมายเพื่อพยายามปลูกฝังคนในชาติที่นับถือพระพุทธศาสนาให้มีศีลธรรม มากกว่านี้ได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพัฒนาหลัก สูตรการเรียนการสอนและจัดครูให้เหมาะสม  การอบรมข้าราชการหรือพนักงานทุกระดับชั้นให้มีจิตสำนึกที่ดี  เช่น  คนไทยพุทธจะไปทำงานในสามจังหวัดภาคใต้ ควรประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างไร  ควรมีคุณธรรมอย่างไรบ้าง  เป็นต้น 
(อ้างอิง : ดร.ปฐมพงษ์  โพธิ์ประสิทธินันท์)
สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อ....
ผมเชื่อว่า ประเทศไทยน่าจะใช้โอกาสนี้ในเรียนรู้จากประเทศต่างๆที่มีพุทธศาสนาปรากฎในรัฐธรรมนูญ คือ
            เรียนรู้จากประเทศพม่า ในด้านการกีดกันระบบทุนนิยม
            เรียนรู้จากประเทศกัมพูชา ในด้านการพัฒนาประเทศภายใต้การคลอบงำของวัฒนธรรม
            เรียนรู้จากประเทศปากีสถาน ในด้านการปรับตัวเข้ากับสังคม
            เรียนรู้จากประเทศภูฎาน ในด้านการสร้างดัชนีวัดความสุข
           ซึ่งประเทศเหล่านี้ล้วนมีพุทธศาสนาอยู่ภายในรัฐธรรมนูญอย่างเต็มรูปแบบ แต่สิ่งที่คนไทยได้เปรียบคนประเทศเหล่านี้คืออะไรรู้ไหมครับ ในทรรศนส่วนตัวของผมก็คือคำตอบเดียวกับที่ เลดีกาก๊าๆ ทันทีที่เธอแตะเท้าถึงผืนแผ่นดินประเทศไทย สิ่งที่เธออยากได้ของฝากจากเมืองไทยคือ “นาฬิกาโลเล็กซ์” ปลอมสวยๆ ซักเรือน...
อุ๊บ๊ะ..เลดีกาก๊า....นี่ถ้าไม่ติดคำหยาบคายซะหน่อยเธอจะต้องถูกคนไทยจ๋า..เรียก “เลดีอีบ้...” ไปแล้วแทนที่จะเรียกเลดีกาก๊า....555
            จากเหตุการณ์ดังกล่าว สื่อออนไลน์คนไทยด่ากันระงม สำหรับผมแล้วกลับไม่ได้คิดอย่างนั้นนะ ผมกลับมองว่า เลดีกาก๊า..เธอมองเห็นสิ่งที่เรามีสิ่งที่เราเป็น แน่นอนสำหรับเธอมันคือการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่สำหรับผม(อุดม ตะหน่อง) มันคืนคนไทยแท้ที่มีความสามารถไม่แพ้ต่างชาติมากกว่าประเทศอื่นๆ นั่นก็คือรู้จักพลิกแพลง ดัดแปลง ก๊อปปี้ หรือพูดให้ดูดีหน่อยก็เรียกว่า “ประยุกต์” เก่งและฉลาดในเรื่อง Apply  ไม่ได้ไบรท์ทางด้าน Research ไม่งั้นคนไทยจะมีนิทานปรัมปราสอนลูกสอนหลานตั้งแต่บรรพบุรุษเรื่องศรีธญชัยทำไมกัน....นัยสำคัญ : ปราญช์โบราณเค้าไม่ได้สอนลูกหลานให้เป็นคนขี้โกง..เหมือนปัจจุบัน เค้าไม่ได้สอนให้ลูกหลานฉลาดก๊อปปี้ CD เถื่อน เค้าไม่ได้สอนให้ลูกหลานยอมแมวนาฬิกาโรเล็กซ์ปลอม วางขายตามทางเท้าแถวตลาดคลองถม มัดไว้เป็นพวงๆเสมือนหนึ่ง “เนื้อแดดเดียว”  ทีเดียวเชียว  เขาสอนให้ลูกหลานรู้จักใช้ปฎิภาณไหวพริบให้รู้จักใช้กุศโลบายในการปรับตัวต่างหากเล่า......
คนรุ่นใหม่
........เรามาช่วยกันสร้างประเทศไทยให้เป็นประเทศแรกที่มีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เป็นแบบอย่างให้ประเทศชาวพุทธทั่วโลกได้เห็นว่า ระบบทุนนิยมพัฒนาควบคู่ไปพร้อมกับพัฒนาระบบจิตวิญญาณแบบพุทธเข้ามาใช้ในการทำงาน การบริหารงาน ได้อย่างลงตัวและเจริญทั้ง 2 ด้านพร้อมกัน (วัตถุและจิตใจ) ยิ่งประเทศไทยตอนนี้เป็นศูนย์กลางพุทศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกแล้ว เราชาวไทยควรใช้โอกาสและสร้างบรรทัดฐานในการนำหลักธรรมทางพุทธศาสนามาพัฒนาจิตใจควบคู่ไปด้วยกันอย่างเป็นรูปธรรม ....ผมเชื่อว่าไม่ยากเลยและประเทศไทยจะเป็นประเทศหนึ่งที่ชาวโลกทั้งผองยกย่อง เพราะสามารถใช้วัดดัชนีความสุข(จิตวิญญาณ)ได้อย่างเต็มเปี่ยมบนความเจริญเติบโตอย่างไร้พรมแดน(วัตถุนิยม) ที่ประเทศภูฎานอาจต้องเดินตามแบบ(สิ่งดีๆ)ประเทศไทยในอนาคตเลยก็ว่าได้  ท้ายที่สุดแล้วการพัฒนาประเทศนั้น ควรใช้หลักสัมมาอาชีวะตามหลัก มัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) ในทางพุทธศาสนาดีกว่า ส่วนจะเป็นอย่างไรตอนหน้าเรามาว่ากันดีกว่า..เน๊าะ
สุดท้าย....
เราจะสร้างพระพุทธรูป เราจะสร้างพระปฏิมายิ่งใหญ่ขนาดไหน แต่หากไร้ซึ่งคนกราบไหว้บูชาและเวียนเทียนรำลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณและพระสังฆคุณในวันสำคัญทางพุทธศาสนาแล้วไซร้ จะมีประโยชน์อะไรเล่า  คงไม่ต่างไปจาก....................................
(ต่อตอนที่ 2 ตอนจบ มาดูผลคะแนนทดสอบก่อนเรียนในส่วนของอาจารย์กันนะครับ...น้องๆๆๆๆ)
อุดม ตะหน่อง
พธ.บ. : พุทธศาสตร์การสอนสังคม มจร.
ศศ.ม. : พุทธศาสนศึกษา มธ.  

11 ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ2 ตุลาคม 2555 เวลา 12:17

    ขอบคุณค่ะ อาจารย์เขียนได้ดีมาก รู้สึกซาบซึ้งมากเลยค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ลืมเรื่องนี้ไปเลย..นะ (วันที่ 24 ต.ค. 63 เวลา 19.30 - 22.30 น. ) มีเสวนาเรื่องพุทธศาสนานะครับ https://www.facebook.com/PhiangThawan/ ติดตามให้ด้วยนาครับ

      ลบ
  2. อาจารย์เองก็เร่งให้คลอบคลุมในสิ่งที่พวกเราจะรู้และสามารถสอบได้ ยังไงถ้าสิ่งที่เขียนไม่ตรงกับสิ่งที่ออกข้อสอบก็ไม่ว่ากันนะ...อิอิอิ ขอบใจน้องๆที่เม้นมา...(มีคนเม้นแล้วว๊อย)ดีใจจัง

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณค่ะอาจารย์ อาจารย์เขียนสนุกดีค่ะ อ่านแล้วอยากกินลาบเป็ดยโสธรเลย(ยังไม่เคยกินเลยค่ะ)

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอให้หนูๆ มาฟังในวันที่ 24 ต.ค. 63 เวลา 19.30 - 22.30 น. ) มีเสวนาเรื่องพุทธศาสนานะครับ https://www.facebook.com/PhiangThawan/ ติดตามให้อาจารย์ด้วยนาครับ

      ลบ
  4. 5555
    แต่มีข้อแม้นิดนึงนะถ้าจะกินลาบเป็ดยโสธร ห้ามน้องๆกินก่อนสอบวิชาพระพุทธศาสนาฯ ไม่ใช่ว่าชาติหน้าจะเป็นเป็ดหรอกนะ...มันจะทำให้ง่วงนอนแค่นั่นเอง.....ห้าห้าห้า

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ3 ตุลาคม 2555 เวลา 16:41

    โหเห็นตอนแรกเป็นบทความยาวจัง แต่อาจารย์เขียนแล้วอ่านสนุกมาก หนูจะตั้งใจสอบวิชานี้ให้เต็มที่ค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ลืมเรื่องนี้ไปเลย..นะ (วันที่ 24 ต.ค. 63 เวลา 19.30 - 22.30 น. ) มีเสวนาเรื่องพุทธศาสนานะครับ https://www.facebook.com/PhiangThawan/ ติดตามให้ด้วยนาครับ

      ลบ
  6. อาจารย์เขียนได้สนุกมากๆเลยคะ
    อ่านแล้วไม่เบื่อเลย แถมได้ความรู้ด้วยนะคะ
    ขอบคุณมากอาจารย์มากคะ ^^

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มาๆ มาฟังด่วนนะครับ อีกหนึ่งหนึ่งประเด็นใหม่ในสังคม มาฟังในวันที่ 24 ต.ค. 63 เวลา 19.30 - 22.30 น. ) มีเสวนาเรื่องพุทธศาสนานะครับ https://www.facebook.com/PhiangThawan/ ติดตามให้ด้วยนาครับ

      ลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ3 ตุลาคม 2555 เวลา 19:55

    อาจารย์ค้ะ คืองานหนูยังไม่ครบค่ะ คือจะขอใบงานได้ที่ไหนค้ะ

    ตอบลบ
แสดงความคิดเห็น
ใหม่กว่า เก่ากว่า