พุทธศาสนากับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ (ตอนที่ 2)
....... ตอนนี้เป็นตอนต่อจากตอนที่แล้ว.....
น้องๆ ก็คงใจเต้นตุ้มๆต่อมๆ ...เมื่อไหร่อ.อุดมจักลงบทความเตรียมสอบกันซะที
เป็นอันว่าบทความนี้เป็นบทความต่อจากตอนที่ 1 และก็จะลงอีก 1 บทความเกี่ยว "พุทธศาสนากับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก" ก็คงจะพอกระมังครับ เพราะส่วนหนึ่งก็เรียนกันไปในชั้นเรียนบ้างแล้ว ...
แต่คงมีสิ่งหนึ่งที่น้องๆอยากจะทราบมากกว่าข้อมูลการเตรียมตัวสอบ นั่นก็คือผลการประเมินก่อนเรียนของอาจารย์ที่ให้ทำทั้งหมด 6 ข้อ เอ๊าเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา คลิ๊กดูเรียกน้ำย่อยกันก่อนแล้วกัน...เอ๊า
และให้นักศึกษาที่ผลงานส่งไม่ครบถ้วนตามประกาศด้านล่างนี้
นำงานส่งอ.อุดมทางอีเมล์นะครับ ก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2555 ย้ำ คะแนนนี้ไม่มีผลต่อการให้คะแนนสอบปลายภาคนะครับ อย่างไรก็ตามอาจารย์ก็จะส่งให้ อาจารย์ชาญนรงค์ ทำนนำไปพิจารณาต่อไป ส่วนท่านจะไปชั่งกิโลขายหรือทำลายเป็นกระดาษรีไซเคิลก็ไม่ได้ผิดกฏระเบียบอะไร แต่ว่าควรส่งให้ครบทุกคนจะดีกว่าไหม คลิ๊กดูรายชื่อแล้วกันนะจ๊ะ.....ใครยังไม่ส่งงานอ.อุดมก็วานๆบอกกันไปนะ
แนวคิดระบบทุนนิยมของนักปราชญ์ชาวพุทธ
.....มีนักปราชญ์จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวที่ได้พูดเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพุทธ และที่สำคัญจะออกเป็นแนวแบบพอเพียง พออยู่พอกิน พระไพศาล วิสาโล ก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่ได้กล่าวถึงระบบทุนนิยมเปรียบเทียบกับแนวคิดทางพุทธศาสนาไว้อย่างน่าฟัง กระผมขอจับมาใส่ตารางจับคู่ให้ตรงกันเพื่อให้เห็นแนวคิดชันเจนขึ้น.....
แนวความคิดโดยภาพรวมเรื่อง "สันโดษ" กับการพัฒนาเศรษฐกิจ
....
หลวงวิจิตรวาทการท่านว่า ที่ประเทศไทยพัฒนาไม่เท่าเทียมนานาอารยประเทศเขา มีความบกพร่องฉกาจฉกรรจ์อยู่ข้อหนึ่งคือ เพราะพระสงฆ์มัวพร่ำสอนแต่ให้ประชาชนมักน้อย สันโดษ ได้เท่าไรมีเท่าไรพอใจแค่นั้น ทำให้เป็นคนไม่กระตือรือร้น ทำงาน งอมืองอเท้า
ผมบอกเพื่อนไปว่า อย่าได้เชื่อหลวงวิจิตรวาทการมากนัก หลวงวิจิตรวาทการอาจเป็นที่เชื่อถือได้ด้านอื่น แต่ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนาแล้วให้ฟังๆ ไว้เท่านั้น ทรรศนะทางศาสนาที่ท่านผู้นี้แสดงออกมา ไม่ว่าจะเป็นบทความปาฐกถาหรือคำปราศรัยของผู้นำประเทศที่ตนเป็นผู้ร่างให้ อาจมิใช่จากความรู้จริงๆ ที่ท่านได้เล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ก็ได้ อาจเป็นเพียง “การปรับ” หรือ “เบนทิศทาง” เพื่อให้เอื้ออำนวยแก่การเอาตัวรอดก็เป็นได้ พูดให้ชัดก็คือบิดเบือนพระพุทธศาสนาเพื่อประจบเจ้านาย
เมื่อ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปฏิวัติใหม่ๆ ท่านผู้นี้แสดงทรรศนะออกมาอย่างชัดแจ้งว่าการปฏิวัติเป็นการดี พระพุทธเจ้าเองก็ทรงสรรเสริญการปฏิวัติในปฐมเทศนา (เทศน์กัณฑ์แรก) ที่ทรงแสดงแก่พระเบญจวัคคีย์ พระองค์ตรัสว่า “โลเก อัปปฏิวัตติยัง” การปฏิวัติที่ดีต้องเป็นปฏิวัติที่ผู้อื่นล้มไม่ได้ (เผด็จการตลอดกาล !)
จากวาทะอันคมคายนี้ ทำให้ท่านได้บำเหน็จรางวัลด้วยตำแหน่งปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นคนแรกและคนเดียวในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และเป็นพลเรือนคนเดียวที่ได้เป็นนายพลตรี
บรรดาหลักธรรมพุทธศาสนาที่มีผู้เข้าใจกันไม่ถูกต้อง นอกจากเรื่องหลักกรรมแล้ว สันโดษก็เป็นเรื่องหนึ่ง ความคลาดเคลื่อนอาจจะมาจากคำพูดที่ติดปากคนไทยว่า “สันโดษมักน้อย” หรือ “มักน้อยสันโดษ” ก็เป็นได้ การตีความแบบสร้างค่านิยมในแง่ลบ คือแฝง “การไม่กระทำ” หรือ “ความเกียจคร้าน” อยู่ในตัว ไม่ต้องทำ ไม่ต้องสร้าง ไม่ต้องการมาก ต้องการน้อยๆ อยู่ไปวันๆ ผลที่ตามมาก็คือความเฉื่อยแฉะ ไม่กระตือรือร้นในการทำงาน งอมืองอเท้า ซึมเซื่อง ปล่อยตามบุญตามกรรม ไม่คิดสร้างสรรค์ พูดง่ายๆ ก็ว่าเป็นมนุษย์ไม่เอาไหน
ถ้าสันโดษของพระพุทธเจ้าหมายถึงอาการอย่างที่ว่ามานี้ ก็น่าจะถูกประณามว่า พระองค์สอนไม่เอาไหน สอนสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา คนพัฒนาประเทศอย่างร้ายแรง ใช้ไม่ได้จริงๆ
แต่สันโดษจริงๆ มันเป็นอย่างไร ?
ลองหันไปดูตำราดูบ้างเป็นไร ในตำราท่านให้ความหมายของ “สันโดษ” ไว้ว่า
ยินดีตามที่หามาได้, ยินดีเท่าที่หาได้ด้วยความบากบั่นของตน (ยถาลาภสันโดษ)
ยินดีตามกำลังสามารถที่หามา, มีสติกำลังเท่าไรทุ่มเทลงไปได้เท่าไรก็พอใจ (ยถาพลสันโดษ)
ยินดีในสิ่งที่หามาได้โดยชอบธรรม, ของที่ได้มาเป็นผลของการสร้างสรรค์ของตน โดยวิธีการที่ชอบธรรม ไม่ทุจริตฉ้อโกงเขามา (ยถาสารุปปสันโดษ)
สรุปให้เข้าใจว่า “สันโดษคือความพึงพอใจในผลสำเร็จ หรือผลได้ที่ตนสร้างขึ้นด้วยความบากบั่น ด้วยการทุ่มเทพละกำลังทั้งหมดลงไปและโดยชอบธรรม”
วิธีจะเข้าใจสันโดษดีอีกอย่างหนึ่งคือ ให้ดูสิ่งที่ตรงข้ามกับสันโดษและคุณธรรมที่สนับสนุนสันโดษ สิ่งที่ตรงข้ามกับ “สันโดษ” คือ
(1) การเบียดเบียนกันเพราะอยาก แต่ไม่อยากกระทำ
(2) การทุจริตเพราะอยากได้ของคนอื่น
(3) ความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยแต่ไม่ชอบทำงาน
(4) การทอดทิ้งละเลยไม่เอาใจใส่ในหน้าที่การงาน
(5) ความกระวนกระวาย เร่าร้อนเห่อเหิมทะยานอยากไม่พอใจตลอดเวลา
(6) ความเกียจคร้านเฉื่อยชา
คุณธรรมที่สนับสนุนสันโดษ คือ “วิริยารัมภะ” หรือการปรารภความเพียร ถือเอาความง่ายๆ คือ การตั้งหน้าตั้งตาพยายามปฏิบัติหน้าที่การงานไม่หยุดยั้ง
จากการนิยามความหมายของสันโดษ จากการมองสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ตรงข้ามกับสันโดษและคุณธรรมที่สนับสนุนสันโดษ เราพอจะมองเห็นลักษณะของคนที่มี “สันโดษ” ดังต่อไปนี้
(1) คนสันโดษ จะต้องเป็นคนทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันหมั่นเพียร และด้วยสติปัญญาเท่าที่เหมาะสมกับภาวะของตนและโดยชอบธรรม
(2) คนสันโดษ จะไม่อยากได้ของคนอื่นหรือของที่ไม่ชอบธรรม ไม่ทุจริตเพราะปากท้องหรือเพราะผลประโยชน์ส่วนตัว
(3) เมื่อหามาได้ก็ใช้สอยของที่ได้มาเท่าที่จำเป็นและด้วยสติปัญญา ไม่กลายเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้น
(4) เมื่อไม่ได้ เมื่อสุดวิสัยได้สำเร็จตามต้องการ ก็ไม่เดือดร้อนกระวนกระวาย ไม่ยอมให้ความผิดหวังครอบงำ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ของตนไปได้
(5) ไม่ถือเอาสิ่งที่ตนหามาได้ สมบัติของตนหรือความสำเร็จของตนมาเป็นเหตุยกตนข่มขู่ผู้อื่น
(6) หาความสุขได้จากสิ่งที่เป็นของตนหรือเป็นสิทธิของตน สามารถดำรงชีวิตที่มีความสุขในทุกฐานะที่ตนเข้าถึงในขณะนั้นๆ
(7) มีความภูมิใจในผลสำเร็จที่เกิดจากกำลังของตน มีความอดทนสามารถคอยผลสำเร็จที่จะพึงเกิดขึ้นจากการกระทำของตน
(8) มีความรักและภักดีในหน้าที่การงานของตน มุ่งปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
บทความนี้ยังไม่สมบูรณ์อาจารย์จะมาต่อตอนงานไม่ยุ่ง....
ตอนนี้ตรวจสอบคะแนนประเมินก่อนสอบส่งเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ก่อน คลิ๊กตรวจสอบได้เลย
ใครที่ยังไม่ส่งก็ให้ส่งเพิ่มเติมนะครับ
....... ตอนนี้เป็นตอนต่อจากตอนที่แล้ว.....
น้องๆ ก็คงใจเต้นตุ้มๆต่อมๆ ...เมื่อไหร่อ.อุดมจักลงบทความเตรียมสอบกันซะที
เป็นอันว่าบทความนี้เป็นบทความต่อจากตอนที่ 1 และก็จะลงอีก 1 บทความเกี่ยว "พุทธศาสนากับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก" ก็คงจะพอกระมังครับ เพราะส่วนหนึ่งก็เรียนกันไปในชั้นเรียนบ้างแล้ว ...
แต่คงมีสิ่งหนึ่งที่น้องๆอยากจะทราบมากกว่าข้อมูลการเตรียมตัวสอบ นั่นก็คือผลการประเมินก่อนเรียนของอาจารย์ที่ให้ทำทั้งหมด 6 ข้อ เอ๊าเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา คลิ๊กดูเรียกน้ำย่อยกันก่อนแล้วกัน...เอ๊า
และให้นักศึกษาที่ผลงานส่งไม่ครบถ้วนตามประกาศด้านล่างนี้
นำงานส่งอ.อุดมทางอีเมล์นะครับ ก่อนวันที่ 15 ตุลาคม 2555 ย้ำ คะแนนนี้ไม่มีผลต่อการให้คะแนนสอบปลายภาคนะครับ อย่างไรก็ตามอาจารย์ก็จะส่งให้ อาจารย์ชาญนรงค์ ทำนนำไปพิจารณาต่อไป ส่วนท่านจะไปชั่งกิโลขายหรือทำลายเป็นกระดาษรีไซเคิลก็ไม่ได้ผิดกฏระเบียบอะไร แต่ว่าควรส่งให้ครบทุกคนจะดีกว่าไหม คลิ๊กดูรายชื่อแล้วกันนะจ๊ะ.....ใครยังไม่ส่งงานอ.อุดมก็วานๆบอกกันไปนะ
แนวคิดระบบทุนนิยมของนักปราชญ์ชาวพุทธ
.....มีนักปราชญ์จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวที่ได้พูดเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพุทธ และที่สำคัญจะออกเป็นแนวแบบพอเพียง พออยู่พอกิน พระไพศาล วิสาโล ก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่ได้กล่าวถึงระบบทุนนิยมเปรียบเทียบกับแนวคิดทางพุทธศาสนาไว้อย่างน่าฟัง กระผมขอจับมาใส่ตารางจับคู่ให้ตรงกันเพื่อให้เห็นแนวคิดชันเจนขึ้น.....
ทัศนะทุนนิยม
|
แนวคิดทางพุทธศาสนา
|
การกระตุ้นความโลภและเน้นประโยชน์ส่วนตน
ทุนนิยมมีทัศนะว่าความเห็นแก่ตัวเป็นสิ่งที่ต้องส่งเสริมให้มาก ๆ
เพื่อจะได้เกิดความเจริญ เมื่อจอมพลสฤษดิ์
ธนะรัชต์ริเริ่มให้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมตามแนวคิดของอเมริกาเมื่อปี ๒๕๐๔
จอมพลสฤษดิ์ พบว่าคำสอนของพุทธศาสนาที่เน้นเรื่องการสันโดษ
เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจมาก จอมพลสฤษดิ์จึงมีคำสั่ง “ขอร้อง”พระทั่วประเทศว่าอย่าสอนเรื่องสันโดษ
เพราะจะขัดขวางการเจริญเติบโตของประเทศ
|
ความคิดเช่นนี้ต่างจากพุทธศาสนาอย่างชัดเจน
เพราะพุทธศาสนาเชื่อว่าแม้มนุษย์เรามีความเห็นแก่ตัว
แต่เราไม่ควรกระตุ้นความโลภหรือกระตุ้นการแสวงหากำไรอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เพราะจะกลายเป็นโทษต่อสังคมในระยะยาว
พุทธศาสนาจึงมุ่งลดความเห็นแก่ตัวให้เหลือน้อยที่สุดหรือควบคุมให้อยู่ในขอบเขต
|
การเน้นเรื่องตลาดและเอากำไรเป็นตัวตั้ง
ทำให้แทบทุกอย่างถูกแปรเป็นสินค้า จนแม้แต่ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา มนุษย์
ก็กลายเป็นสินค้าที่ตีค่าเป็นตัวเงิน หรือเอามาซื้อขายได้
|
แต่พุทธศาสนาเห็นว่าเศรษฐกิจหรือเงินตรามิใช่เรื่องใหญ่ที่สุดของชีวิต
และไม่มองว่าจำเพาะสิ่งที่ตีค่าเป็นตัวเงินได้เท่านั้นที่สำคัญ
มีหลายสิ่งในชีวิตที่ตีค่าเป็นตัวเงินไม่ได้ แต่มีความสำคัญมาก เช่น คุณธรรม
ความศรัทธาในสิ่งดีงาม ความรัก ความเมตตา ความซื่อสัตย์
|
การเน้นเรื่องการผลิตเพื่อการซื้อขาย
ทุนนิยม ไม่สนับสนุนการผลิตเพื่อเอื้อเฟื้อเกื้อกูล หรือการพึ่งตนเอง
ใครทำอะไรได้ ต้องเอาไปขาย ไม่ควรทำให้คนอื่นฟรี ๆ หรือพึ่งตนเองจนไม่ซื้อจากใครเลย
|
แต่พุทธศาสนาเห็นว่าการช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นเรื่องสำคัญ
รวมทั้งการให้ทานแก่กัน
ขณะเดียวกันก็เห็นว่าการพึ่งตนเองเป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกัน
พระพุทธเจ้าถึงกับตรัสว่าตนนั้นแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
แม้ว่าการพึ่งตนในที่นี้จะไม่ได้เจาะจงในเรื่องเศรษฐกิจก็ตาม
|
การเน้นเรื่องเสรีภาพทางเศรษฐกิจ
ไม่ว่าเสรีภาพในการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก การบริโภคและการซื้อขาย
รวมถึงเสรีภาพในทรัพย์สินส่วนบุคคล
โดยถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดของเสรีภาพมนุษย์
|
พุทธศาสนาเห็นต่างจากทุนนิยม
เพราะเชื่อว่าเสรีภาพที่แท้จริงเป็นเสรีภาพภายใน เป็นเสรีภาพในทางจิตใจมากกว่า
ถ้าไร้เสรีภาพในทางจิตใจแล้วเราก็กลายเป็นทาสของเงิน
และเป็นทุกข์เพราะวัตถุได้อย่างง่ายดาย
|
การเน้นความสุขที่เกิดจากการบริโภคและครอบครองวัตถุ
โดยมองข้ามความสุขทางจิตใจที่ไม่อิงวัตถุ
|
พุทธศาสนายอมรับความสุขจากการใช้ทรัพย์
รวมทั้งความสุขจากการไม่มีหนี้ แต่พุทธศาสนาเห็นว่ายังมีความสุขที่ลึกไปกว่านั้น
เป็นความสุขที่นอกเหนือจากการมีทรัพย์หรืออาสมิส
ได้แก่นิรามิสสุขคือสุขที่ไปพ้นจากวัตถุสิ่งเสพ
|
แนวความคิดโดยภาพรวมเรื่อง "สันโดษ" กับการพัฒนาเศรษฐกิจ
....
หลวงวิจิตรวาทการท่านว่า ที่ประเทศไทยพัฒนาไม่เท่าเทียมนานาอารยประเทศเขา มีความบกพร่องฉกาจฉกรรจ์อยู่ข้อหนึ่งคือ เพราะพระสงฆ์มัวพร่ำสอนแต่ให้ประชาชนมักน้อย สันโดษ ได้เท่าไรมีเท่าไรพอใจแค่นั้น ทำให้เป็นคนไม่กระตือรือร้น ทำงาน งอมืองอเท้า
ผมบอกเพื่อนไปว่า อย่าได้เชื่อหลวงวิจิตรวาทการมากนัก หลวงวิจิตรวาทการอาจเป็นที่เชื่อถือได้ด้านอื่น แต่ในเรื่องเกี่ยวกับศาสนาแล้วให้ฟังๆ ไว้เท่านั้น ทรรศนะทางศาสนาที่ท่านผู้นี้แสดงออกมา ไม่ว่าจะเป็นบทความปาฐกถาหรือคำปราศรัยของผู้นำประเทศที่ตนเป็นผู้ร่างให้ อาจมิใช่จากความรู้จริงๆ ที่ท่านได้เล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ก็ได้ อาจเป็นเพียง “การปรับ” หรือ “เบนทิศทาง” เพื่อให้เอื้ออำนวยแก่การเอาตัวรอดก็เป็นได้ พูดให้ชัดก็คือบิดเบือนพระพุทธศาสนาเพื่อประจบเจ้านาย
เมื่อ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ปฏิวัติใหม่ๆ ท่านผู้นี้แสดงทรรศนะออกมาอย่างชัดแจ้งว่าการปฏิวัติเป็นการดี พระพุทธเจ้าเองก็ทรงสรรเสริญการปฏิวัติในปฐมเทศนา (เทศน์กัณฑ์แรก) ที่ทรงแสดงแก่พระเบญจวัคคีย์ พระองค์ตรัสว่า “โลเก อัปปฏิวัตติยัง” การปฏิวัติที่ดีต้องเป็นปฏิวัติที่ผู้อื่นล้มไม่ได้ (เผด็จการตลอดกาล !)
จากวาทะอันคมคายนี้ ทำให้ท่านได้บำเหน็จรางวัลด้วยตำแหน่งปลัดบัญชาการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นคนแรกและคนเดียวในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และเป็นพลเรือนคนเดียวที่ได้เป็นนายพลตรี
บรรดาหลักธรรมพุทธศาสนาที่มีผู้เข้าใจกันไม่ถูกต้อง นอกจากเรื่องหลักกรรมแล้ว สันโดษก็เป็นเรื่องหนึ่ง ความคลาดเคลื่อนอาจจะมาจากคำพูดที่ติดปากคนไทยว่า “สันโดษมักน้อย” หรือ “มักน้อยสันโดษ” ก็เป็นได้ การตีความแบบสร้างค่านิยมในแง่ลบ คือแฝง “การไม่กระทำ” หรือ “ความเกียจคร้าน” อยู่ในตัว ไม่ต้องทำ ไม่ต้องสร้าง ไม่ต้องการมาก ต้องการน้อยๆ อยู่ไปวันๆ ผลที่ตามมาก็คือความเฉื่อยแฉะ ไม่กระตือรือร้นในการทำงาน งอมืองอเท้า ซึมเซื่อง ปล่อยตามบุญตามกรรม ไม่คิดสร้างสรรค์ พูดง่ายๆ ก็ว่าเป็นมนุษย์ไม่เอาไหน
ถ้าสันโดษของพระพุทธเจ้าหมายถึงอาการอย่างที่ว่ามานี้ ก็น่าจะถูกประณามว่า พระองค์สอนไม่เอาไหน สอนสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา คนพัฒนาประเทศอย่างร้ายแรง ใช้ไม่ได้จริงๆ
แต่สันโดษจริงๆ มันเป็นอย่างไร ?
ลองหันไปดูตำราดูบ้างเป็นไร ในตำราท่านให้ความหมายของ “สันโดษ” ไว้ว่า
ยินดีตามที่หามาได้, ยินดีเท่าที่หาได้ด้วยความบากบั่นของตน (ยถาลาภสันโดษ)
ยินดีตามกำลังสามารถที่หามา, มีสติกำลังเท่าไรทุ่มเทลงไปได้เท่าไรก็พอใจ (ยถาพลสันโดษ)
ยินดีในสิ่งที่หามาได้โดยชอบธรรม, ของที่ได้มาเป็นผลของการสร้างสรรค์ของตน โดยวิธีการที่ชอบธรรม ไม่ทุจริตฉ้อโกงเขามา (ยถาสารุปปสันโดษ)
สรุปให้เข้าใจว่า “สันโดษคือความพึงพอใจในผลสำเร็จ หรือผลได้ที่ตนสร้างขึ้นด้วยความบากบั่น ด้วยการทุ่มเทพละกำลังทั้งหมดลงไปและโดยชอบธรรม”
วิธีจะเข้าใจสันโดษดีอีกอย่างหนึ่งคือ ให้ดูสิ่งที่ตรงข้ามกับสันโดษและคุณธรรมที่สนับสนุนสันโดษ สิ่งที่ตรงข้ามกับ “สันโดษ” คือ
(1) การเบียดเบียนกันเพราะอยาก แต่ไม่อยากกระทำ
(2) การทุจริตเพราะอยากได้ของคนอื่น
(3) ความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือยแต่ไม่ชอบทำงาน
(4) การทอดทิ้งละเลยไม่เอาใจใส่ในหน้าที่การงาน
(5) ความกระวนกระวาย เร่าร้อนเห่อเหิมทะยานอยากไม่พอใจตลอดเวลา
(6) ความเกียจคร้านเฉื่อยชา
คุณธรรมที่สนับสนุนสันโดษ คือ “วิริยารัมภะ” หรือการปรารภความเพียร ถือเอาความง่ายๆ คือ การตั้งหน้าตั้งตาพยายามปฏิบัติหน้าที่การงานไม่หยุดยั้ง
จากการนิยามความหมายของสันโดษ จากการมองสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ตรงข้ามกับสันโดษและคุณธรรมที่สนับสนุนสันโดษ เราพอจะมองเห็นลักษณะของคนที่มี “สันโดษ” ดังต่อไปนี้
(1) คนสันโดษ จะต้องเป็นคนทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความขยันหมั่นเพียร และด้วยสติปัญญาเท่าที่เหมาะสมกับภาวะของตนและโดยชอบธรรม
(2) คนสันโดษ จะไม่อยากได้ของคนอื่นหรือของที่ไม่ชอบธรรม ไม่ทุจริตเพราะปากท้องหรือเพราะผลประโยชน์ส่วนตัว
(3) เมื่อหามาได้ก็ใช้สอยของที่ได้มาเท่าที่จำเป็นและด้วยสติปัญญา ไม่กลายเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้น
(4) เมื่อไม่ได้ เมื่อสุดวิสัยได้สำเร็จตามต้องการ ก็ไม่เดือดร้อนกระวนกระวาย ไม่ยอมให้ความผิดหวังครอบงำ ยังคงปฏิบัติหน้าที่ของตนไปได้
(5) ไม่ถือเอาสิ่งที่ตนหามาได้ สมบัติของตนหรือความสำเร็จของตนมาเป็นเหตุยกตนข่มขู่ผู้อื่น
(6) หาความสุขได้จากสิ่งที่เป็นของตนหรือเป็นสิทธิของตน สามารถดำรงชีวิตที่มีความสุขในทุกฐานะที่ตนเข้าถึงในขณะนั้นๆ
(7) มีความภูมิใจในผลสำเร็จที่เกิดจากกำลังของตน มีความอดทนสามารถคอยผลสำเร็จที่จะพึงเกิดขึ้นจากการกระทำของตน
(8) มีความรักและภักดีในหน้าที่การงานของตน มุ่งปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
บทความนี้ยังไม่สมบูรณ์อาจารย์จะมาต่อตอนงานไม่ยุ่ง....
ตอนนี้ตรวจสอบคะแนนประเมินก่อนสอบส่งเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ก่อน คลิ๊กตรวจสอบได้เลย
ใครที่ยังไม่ส่งก็ให้ส่งเพิ่มเติมนะครับ
ขอบคุณอีกครั้งค่ะ อาจารย์ มาลงตอนต่อไปไวๆนะคะ รออยู่ค่ะ
ตอบลบครูค่ะ จะอีกนานไหมที่ผู้มีบทบาทในบ้านเมืองจะหันมาสนใจเรื่องเหล่านี้ เพราะจริงๆหนูว่าเรื่องนี้สำคัญมากเลย
ตอบลบเคยมีโอกาสได้อ่านตำราประกอบคำบรรยายวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย ตอนพระพุทธศาสนากับสังคมไทยที่สอนโดยสมเด็จพระสาสนโสภณ
ปี ๒๕๑๔ ของ ม.ธรรมศาสตร์ พบว่าก็มีการบรรจุ เรื่อง สันโดษ ลงไว้เป็นประเด็นหลักอย่างชัดเจนมากเลย แต่ก็แปลกใจอยู่เหมือนกันว่าทำไมปัจจุบันเรื่องหลักธรรม สันโดษ ถึงเมีน้ำหนักน้อยมากคิดว่าคงไม่ใช่เพราะไม่มีคุณกับระบบสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมแต่คงเป็นเพราะบางคนที่ไม่รู้จักพอก็เลยต้องพยายามแปลงความหมายหรือผลักหลักธรรมสันโดษออกจากวิถีชีวิตเดิมของคนไทยเพื่อตัวเองหรือพรรคพวกจะได้แสวงหาผลประโยชน์บนความทุกข์และไม่รู้เท่าทันของผู้คนได้อย่างถนัดถนี่
เขียนได้ดีนะเนี้ยลูกๆอ.ชาญนรงค์..ใช้ได้ๆๆ
ตอบลบอาจารย์เคยดูทีวีช่อง 3 เค้ามีรายการหนึ่งชื่อว่า "ไทยแลนด์ก๊อดทาเลน ซีซั่น 2" (เขียนถูกอะเปล่าไม่รู้นะ) ก็เคยคิดว่าสักวันหนึงฟ้าจะสางทางจะชัด พุทธศาสนากับการพัฒนเศรษฐกิจจะกลับมาแบบ ซีซั่น 2 จะย้อนกลับมาให้ผู้บริหารประเทศได้ใส่ใจและเดินไปตามแนวทางแบบพอเพียงกับตัวเองซะที เมื่อนั่นแหละพวกเราจะได้เห็น พุทธศาสนาฯซีซั่น 2 เบ่งบานทั่วประเทศ โดยไม่ต้องรอยุคของพระศรีอริยเลย และไม่ต้องมีกรรมการตัดสินกันเลยทีเดียว..หึ..ซักวัน..ซักวัน ช่วยกัน