ยกเลิกรายวิชาพระพุทธศาสนา/มิติการสอนพุทธศาสนาแนวใหม่



การยกเลิกรายวิชาพุทธศาสนา 


“ถอดพระพุทธศาสนาออกจากบทเรียน”

        การยกเลิกรายวิชาพระพุทธศาสนาในระบบการศึกษาของไทย ถูกพูดถึงอีกครั้งเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2563 กรณี "ม๊อบนักเรียนเลว" ซึ่งได้พูดถึงกรณี “ถอดพระพุทธศาสนาออกจากบทเรียน” ซึ่งกลุ่มเด็กดังกล่าวได้ขึ้นกล่าวบนเวทีหน้ากระทรวงศึกษาธิการว่า 
         “การปฏิรูปการศึกษา เด็กไทยใช้เวลาเรียนสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศในทวีปอัฟริกา เด็กไทยใช้เวลาเรียนสูง 1,200 ชั่วโมงต่อปี ขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่เจริญแล้วใช้เวลาเรียนประมาณ 600 - 800 ชั่วโมงต่อปี ผู้ใหญ่บางคนอาจจะคิดว่า เออ...ดีแล้วนิ ยิ่งเรียนเยอะ ยิ่งเก่ง ยิ่งมีความรู้ แต่ถามจริงๆ เถอะ หลักสูตรไทยในปัจจุบันมีประสิทธิภาพแล้วจริงๆ เหรอ? การศึกษาที่ประสบความสำเร็จ คือ สามารถดึงประสิทธิภาพของเด็กออกมาให้มากที่สุด”
        “แต่ถามจริงๆ เถอะ วิชาที่ไม่จำเป็นอย่างพระพุทธศาสนา กิจกรรมที่ไม่จำเป็นสมุดจริยธรรม สามารถดึงศักยภาพเด็กออกมาได้ตรงไหน ศักยภาพเพียงอย่างเดียวที่ดึงออกมาได้ คือความอดทนอดกั้นต่อระบบการศึกษาที่โคตรห่วยแตก” 
         จากเหตุการณ์ดังกล่าว เกิดกระแสตื่นตัวหันกลับมาเหลียวมองปัญหาที่เกิดขึ้น จากส่วนงานที่เกี่ยวข้อง อาจจะเริ่มจากกลุ่มคนเล็ก ๆ ที่มีความสามารถ โดยหวังเพียงจะช่วยกระตุ้นกระแสดังกล่าว  ให้ถึงองค์กรใหญ่ไม่เพิกเฉย สะท้อนปัญหา หาทางแก้ไขต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีชื่อว่า "เครือข่ายนักวิชาการปรัชญาและพุทธศาสนา" โดยมี ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน(ประธาน) ผศ.ดร.วรากรณ์ พูลสวัสดิ์ และอาจารย์(พิเศษ)อุดม ตะหน่อง เป็นทีม Admin คอยสะท้อนปัญหาพร้อมเชิญวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญระดับประเทศมานำเสนอแนวทางให้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้กับสังคมที่กำลังเกิดขึ้น โดยเมื่อวันที่  24 ตุลาคม 2563 เครือข่ายนักวิชาการปรัชญาและพุทธศาสนาก็ได้เสวนาเสนอแนะแนวทางให้กับสังคมอย่างน่าสนใจ ในการเสวนา "ครั้งที่ 2 "


           โดยท่านสามารถรับชมผ่านช่องทาง YouTube Channel  https://www.youtube.com/c/pormodtanoy
ในส่วนครั้งนี้ท่านดูได้ที่ https://youtu.be/kPtW18ulUzQ 




 และต้องสานต่อให้แล้วเสร็จในครั้งที่ 3 กับวิทยากรระดับชาติ ในวันเสาร์ที่ 7 พฤษจิกายน 2563 เวลา 17.30 - 21.30 น. 


ที่มาของปัญหาดังกล่าว..ที่ต้องรีบแก้ไข มาหาทางออกให้สังคมร่วมกันครับ


สามารถรับชมผ่านช่องทางออนไลน์ได้ 2 ช่องทางได้แก่ 

คอยติดตาม..งานดี ๆ เพื่อจรรโลงปัญญา และตรวจสอบปัญหาสังคมพร้อมรังสรรหลักธรรมแนวคิด วิถีปัญญาแนวปฏิบัติดีๆ ทั้งหลาย ทั้งด้านปรัชญาและศาสนาในสากลโลกมาเติมเต็ม ให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

"พ่อมดตะนอย" 
06/11/2563


แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า