ณ วันนี้ 15 ตุลาคม 2558
ในเวลานี้กระแสสังคมคงหนีไม่พ้นเรื่องเกี่่ยวกับพระศาสนา ในส่วนแรกต้องขอขอบคุณ บริษัทสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด และบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จํากัด ที่นำเรื่องอภิมหากาพย์ซี่รี่อินเดีย อย่างเรื่อง "พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก" มาฉายให้คนไทยทั้งประเทศได้ดูกัน จนเกิดเป็นกระแสตั้งแต่ต้นปี 2558 จนสิ้นสุดอวสานเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา...ทำให้หลายๆคน เว้นวรรคซี่รี่ส์เกาหลี ลดระดับการคลั่งดาราเกาหลี"วางจีวอน" หันมาดู "ห่มจีวอน"แทน..
โดยตัวของผู้เขียนเองก็มีโอกาสได้เห็นพระพักตร์ของพระพุทธองค์ก็คราวนี้แหละ (นักแสดง) หลายๆครั้งในอดีตที่ผ่านมา ภาพยนต์เรื่องใดก็ตามที่บทพระพุทธเจ้าเค้าจะเซนเซอร์ไว้เพื่อเป็นการให้ความเคารพหรืออะไรก็ตามแต่...แต่มาในยุคนี้เราสามารถเปิดเผยพระพักตร์ได้เลยเพราะคนส่วนใหญ่ก็เข้าใจในบทบาทผู้ของแสดงแทน ซึ่งต้องยอมรับว่า นักแสดงในเรื่องดังกล่าวเค้าเล่นดีอ๊ะ...(ขนลุกทุกตอนทีเดียวเชีย) อ่านหนังสือพุทธประวัติกับดูภาพยนต์ซี่รี่ส์ ต่างกันก็ตรงที่ในภาพยนต์เห็นภาพชัดเจนรัก โลภ โกรธ เกลียด อิจฉา ริษยา อาฆาต พยาบาท จองเวร...ผูกกรรม
ขอขอบคุณบริษัทดังกล่าวทั้ง 2 แทนชาวพุทธทุกท่านด้วยครับ
ขอขอบคุณบริษัทดังกล่าวทั้ง 2 แทนชาวพุทธทุกท่านด้วยครับ
ปล.ว่าแต่ภาพยนต์เรื่องใหม่ "อาบัติ" จะจัดการยังไงก็เอา เราคนไทยยุคใหม่เข้าใจว่ามันคือภาพยนต์ที่สะท้อนอีกมุมมองที่ผู้เข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์พึงสังวรและระมัดระวัง
และขอบคุณอีกครั้งสำหรับนำมาลงใน Youtube ให้คนทั้งโลกได้ชมกัน..ขอบคุณขอบคุณจริงๆ
สุดท้าย..อยากฝากไว้กับกระแสสังคมในวันนี้ว่า..ท่านใดอยากเลิกนับถือพระพุทธศาสนา หรือหันมานับถือศาสนาใดๆ..ก็สุดแล้วแต่คนๆนั้น พระพุทธองค์ไม่เคยบังคับใครให้เลิกหรือให้รับ หรือให้หันมานับถือศาสนาโดยฝืนใจ.....เปรียบเสมือนซ้อนแกงอยู่ในถ้วยแกงแต่ไม่สามารถรับรู้รสของแกงได้ จะมีประโยชน์อันใดเล่า.....สาธุ
-------------------------------------------
การบวชพระในพระพุทธศาสนา
เป็นอีกหนึ่งหัวข้อหนึ่งในรายวิชาพุทธศาสนาในชีวิตคนไทย จึงจำเป็นอยู่เองที่คนไทยในยุคนี้ควรเข้าใจเรื่องดังกล่าวอย่างแท้จริงและชัดเจน เมื่อเราศึกษาโดยละเอียดแล้วเราจะเข้าใจคำว่า"อาบัติ" หมายถึงอะไร ระดับของอาบัติมีกี่ระดับ และผลการละเมิดอาบัติมีผลขนาดไหนต่อการดำรงสมณะภาวะ.........และเมื่อเราอาจจะเข้าใจภาพยนต์เรื่อง "อาบัติ" ได้ชัดขึ้นกระมัง
(คลิ๊กอ่านข้อมูล)
คำนิยามของคำว่า “บวช”
คำว่า “บวช” เป็นคำที่คนไทยนิยมใช้
มาจากภาษาบาลีว่า “ปพฺพชฺชา”
ซึ่งหมายถึงการบรรพชา มีรากศัพท์มาจาก ป (ปะ)
แปลว่า ทั่ว
และ วช (วะชะ) แปลว่า เว้น รวมกันมาเป็นคำว่า “บรรพชา” แล้วจึงกลายมาเป็นคำว่า
“บวช” ในที่สุดตามที่เราเข้าใจกันในสังคมปัจจุบัน
คลิ๊กอ่านข้อมูลเพิ่มเติม..... สำหรับนักศึกษาเท่านั้น
คลิ๊กดูวิดีโอ "พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก"
ปล.แล้วเจอกันบทความต่อไปครับ....